วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สอบ Final

* ขอให้นักศึกษาทุกท่านโชคดีในการสอบ ได้เกรดสมดังที่หวังนะครับ *

อ่าน blog ก่อนไปสอบด้วยน้า า า าา :)

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

My Design Hero . . .

จากการศึกษาในสาขาวิชาด้านออกแบบมา 3 ปี นักศึกษาได้พบ เห็น ดู สัมผัส ชื่นชมงานของนักออกแบบไทยและต่างประเทศที่มีความหลากหลายทางความคิด เชื้อชาติ สายพันธุ์ ยุคสมัย วัฒนธรรม ความเชื่อ เทคโนโลยี ฯลฯ
จึงขอให้นักศึกษาเลือกนักออกแบบที่ตนเองชื่นชม ประทับใจในผลงาน แนวความคิด วิธีนำเสนอ หนึ่งคน นำมา post ใน blog ของตนเอง โดยแสดง. . .
  • ชื่อ / สัญชาติ / ช่วงเวลา / ประวัติคร่าวๆ / ตัวอย่างผลงาน / แนวความคิด / วิธีการนำเสนอ
  • เหตุผลของตัวนักศึกษาเอง + การวิเคราะห์ ว่าเหตุใดจึงชอบ? ชอบเพราะอะไร? ผลงานของนักออกแบบนั้นๆ สื่อสารสิ่งใด? ส่งผลต่อผู้รับสารและสังคมส่วนรวมอย่างไร?
โพสต์ใน blog ของตนภายในวันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553

เยี่ยมชม Musuem Siam วันเสาร์ที่ 20 ก.พ. 53

ในวันเสาร์ที่ 20 ก.พ. 53 เวลา 13.00 น. เราจะไปเจอกันที่หน้าพิพิธภัณฑ์เพื่อเยี่ยมชม Musuem Siam นะครับ มีการเช็คชื่อและให้คะแนนกับคนที่ไป

www.ndmi.or.th

* ไม่เสียค่าเข้า *

Re Design > Thai Eco-Label

อ้างถึง Ec0-Label ซึ่งโพสต์ไว้เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 53

จากแนวความคิดดังกล่าวให้นักศึกษาออกแบบ Eco-Label หรือ ฉลากเขียวของไทยใหม่ โดยคงแนวความคิด การสื่อความหมายเดิมและความเป็นสากลให้ได้

ให้นักศึกษา Re-Design > Thai Eco-Label คนละ 1 แนวคิด
  • ส่งในกระดาษ A4 แนวนอน
  • ในแต่ละแผ่นจะต้องประกอบด้วย
  1. ชื่อโครงการ
  2. ชื่อนักศึกษา
  3. ฉลาก สามารถเป็นแบบสีเดียวและมากกว่าหนึ่งสีได้ โดยให้เสนอฉลากหลักขนาด 100% ฉลากขนาดเล็กลง 50% จัดวางอยู่ในแผ่นเดียวกัน
  4. อธิบายแนวความคิด
  5. นำไฟล์งานและแนวคิดไปโพสต์ใน blog ของตนเอง
ส่งงาน ในวันเสาร์ที่ 13 ก.พ. 53 ภายในชั่วโมงเรียน

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ Guest Speaker

"วิถีความเป็นไทยกับนักออกแบบและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม"

โดยคุณชาติฉกาจ ไวกวี ช่างภาพ + ผู้กำกับมิวสิควีดิโอ เวลา ๙.๓๐ - ๑๑.๐๐ น.


วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

สัญลักษณ์สี Recycle และหนังสือควรอ่าน

การใช้สัญลักษณ์สีในการจัดการขยะหนังสือควรอ่านประกอบการเรียนในเรื่อง Green Design, EcoDesign, Sustainable Design, Design for Environment





การบ้าน - โครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

1. ให้นักศึกษาเลือกโครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งตนเองสนใจ คนละ 2 โครงการ

2. ทำความเข้าใจกับ
  • ที่มาที่ไป
  • แนวความคิด
  • เนื้อหา รายละเอียดของโครงการ
  • วิธีการแก้ปัญหา
  • ตัวอย่างและภาพประกอบ
  • เจ้าของโครงการคือใคร? ผู้ออกแบบคือใคร?

3. รวบรวมสองโครงการดังกล่าว print out ข้อมูลรายละเีอียดมาส่งและเตรียมนำเสนอทั้งสองโครงการในชั่วโมงเรียนวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 (jpg, pdf, ppt file format)

4. นำโครงการไปเผยแพร่ใน blog ของตน

หมายเหตุ
สามารถเป็นโครงการออกแบบโดยนักออกแบบชาวไทยหรือชาวต่างชาติได้ เป็นโครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ ซึ่งนอกเหนือไปจากงาน Communication Design ได้

หลักการ 4 R

Eco Design มีกรอบความคิดหลักคือ ครอบคลุมวงจรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถแบ่งกระบวนการออกเป็นช่วงๆ ให้ชัดเจนได้ คือ

การวางแผนการผลิต (Planning Phase) > ช่วงการออกแบบ (Design Phase) > ช่วงการผลิต (Manufacturing Phase) > ช่วงการนำไปใช้ (Usage Phase) > และช่วงการทำลายหลังการใช้เสร็จ (Disposal Phase)

ซึ่่งหลักการสำคัญก็คือ หลัก 4 R นั่นเอง

  • Reduce หรือลด ก็คือการลดการใช้ทรัพยากรในช่วงต่างๆ ของวงจรผลิตภัณฑ์ เช่น การลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ เริ่มตั้งแต่ลดการใช้กระดาษในการออกแบบไปเลย ลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ ลดอัตราการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในระหว่างการใช้งาน
  • Reuse หรือใช้ซ้ำ ทั้งที่เป็นการใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ตามหรือที่เรียกว่า การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Design for Reuse) เช่น การออกแบบให้ผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกันได้ เมื่อรุ่นแรกหยุดการผลิตแล้วยังสามารถเก็บคืนและนำบางชิ้นส่วนมาใช้ในการผลิตรุ่นต่อไปได้
  • Recycle หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ แล้วนำกลับมาใช้โดยการออกแบการใช้งานผลิตภัณฑ์เพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ จะต้องเอื้อต่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การออกแบบให้ถอดประกอบได้ง่าย (Design for Disassembly) การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Design for Recycle) เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบพลาสติกหรือกระดาษที่ง่ายต่อการนำกลับมา ใช้
  • Repair หรือการซ่อมบำรุง ก็คือการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการซ่อมบำรุงได้ง่ายจะเป็นการยืดอายุช่วงชีวิตของการใช้งาน (Extended Usage Life) ซึ่งท้ายที่สุดสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ออกแบบให้เปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย

- หนังสือสกุลไทย ปีที่ 54 ฉบับที่ 2805 ประจำวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2551 หน้า 102
- www.thaienv.com

Sustainable Design

การออกแบบอย่างยั่งยืน Sustainable Design คือ การออกแบบที่ส่งผลดีต่อโลก สร้างความสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลง การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ การหาทางเลือกหรือคิดค้นนวัตกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อโลกน้อยลง เป็นการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผู้ผลิตและผู้บริโภค

การออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable design) หรือการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green design, Eco-design หรือ Design for the environment)
นับเป็นกระแสหลักของการออกแบบยุคใหม่ที่นักออกแบบหลายต่อหลายคนต่างให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันกระแสที่ว่ากำลังได้รับความสนใจในหลายวงการไม่ว่าจะเป็นวงการสถาปัตยกรรม การออกแบบภูมิทัศน์ การออกแบบและวางผังเมือง วิศวกรรม การออกแบบกราฟฟิก การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบภายใน หรือแม้แต่การออกแบบแฟชั่น

แท้จริงแล้วความหมายของการออกแบบอย่างยั่งยืนนั้น มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่การออกแบบวัตถุขนาดเล็กไปจนถึงการออกแบบสิ่งก่อ สร้างขนาดใหญ่ อย่างตึกรามบ้านช่องหรือแม้แต่การสร้างเมือง สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการบริการที่สอดคล้องกับกฎทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน

การออกแบบอย่างยั่งยืนให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ให้น้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งยังพยายามเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้มากที่สุด โดยมุ่งสร้างวิถีการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกด้านต่างๆ อาทิ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรที่เป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างมหาศาล การเสียภาวะสมดุลทางสิ่งแวดล้อมและการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการออกแบบที่ยั่งยืนจึงนับเป็นวิธีการในการคงคุณภาพชีวิตอันสมบูรณ์ ด้วยวิธีการออกแบบอันชาญฉลาด เพื่อทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมดังเช่นในอดีต อาจพูดได้ว่าการ ออกแบบอย่างยั่งยืนนี้ไม่ได้เป็นเพียงส่วนเสริมของการออกแบบสถาปัตยกรรม แต่กลายเป็นกระบวนการสำคัญของศาสตร์และศิลป์แห่งการออกแบบเกือบทุกแขนงไป เป็นที่เรียบร้อย

keywords :

  • ทรัพยากรที่นำมาใช้
  • ผลที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
  • มนุษย์




- www.tcdc.or.th/articles.php?act=view&id=35

- www.mioculture.com

- http://reestore.com/products.htm

- www.mioculture.com

- www.freitag.ch/shop/FREITAG/page/frontpage/detail.jsf

- www.alchemygoods.com

Green Design + EcoDesign + Sustainable Design

Keywords :
  • EcoDesign = Economic + Ecological Design / การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
  • Green Design / การออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • Sustainable Design / การออกแบบอย่างยั่งยืน
  • Design for the Environment / การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจและการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (EcoDesign and Design for Environment)


EcoDesign มาจากสองคำรวมกันคือ Economic (เศรษฐศาสตร์) และ Ecological (นิเวศวิทยา) เมื่อรวมกับ Design (การออกแบบ) จึงเรียกว่า EcoDesign หรือบางครั้งเรียกว่า Green Design หรือ Design for Environment เป็น กระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อม เข้าไปในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ โดยเเป้าหมายหลักของการออกแบบเพื่อให้การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตถัณฑ์ (Product Life Cycle) จาก ผลิตภัณฑ์เกิดจนถูกทำลายและนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งแนวคิดนี้จะต้องอาศัยกลยุทธ์ในการพิจารณาการออกแบบผลิตให้สามารถจำหน่าย ได้ และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ซึ่งจะทำให้ส่งผลดีทั้งทางด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจนี้ได้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายใน หลายประเทศ โดยมีการสนับสนุนจากภาครัฐในการออกกฏระเบียบต่างๆ เข้ามาบังคับใช้สนับสนุน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น การออกฉลากสิ่งแวดล้อม หรือฉลากด้านพลังงาน


*ที่มา: หนังสือการประเมินวัฏจักรชีวิตและการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (จัดทำโดย สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2549)



Eco-Label

ฉลากเขียว คือ ฉลากที่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อนำมาเปรียบ เทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
ข้อดีของการมีฉลากเขียวติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ก็คือใช้เป็นเครื่องหมายให้กับผู้ บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเน้น คุณค่าทางสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคจะได้เลือกซื้อถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ในส่วนผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายจะได้รับผล ประโยชน์ในแง่กำไรเนื่องจากมีการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมากขึ้น ผลักดันให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ ต้องแข่งขันกันปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการของตนในด้านเทคโนโลยี โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชน และส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว ฉลากเขียวจึงเป็นเครื่องมืออย่าง หนึ่งที่ช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติผ่านทางการผลิตและการบริโภคของประชาชน






4 Rs Logo > sample



website ข้อมูล :

- www.thaigdn.net
- www.thaienv.com
- www.environnet.in.th
- www.tisi.go.th/green/

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

เนื้อหาและสิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนบทความ

นิทรรศการ ADC 88th และ Young Gun 7th













ให้นักศึกษาไปชมนิทรรศการ ADC ครั้งที่88 และ Young Gun ครั้งที่ 7 ที่หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต โดยจะต้อง . . .
  1. เขียนบทความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานนิทรรศการครั้งนี้ในด้านของรูปแบบการจัดงาน การสื่อสาร ผลที่ได้รับต่อนักออกแบบ นักศึกษาและสังคมออกแบบไทย
  2. เลือกชิ้นงานที่ชอบ + สนใจอย่างน้อยสองชิ้น เขียนวิเคราะห์ตัวงานโดยอธิบายแนวความคิด สารที่นักออกแบบสื่อ การเลือกใช้สื่อ วิธีการนำเสนอ โดยจะต้องเสนอภาพประกอบและยกเหตุผลสนับสนุนแนวความคิดของนักศึกษาเอง
  3. ถ่ายรูปตนเองในงานนิทรรศการ (สามารถถ่ายรูปเป็นกลุ่มได้)
  4. ส่งบทความนี้ในชั่วโมงเรียนวันเสาร์ที่่ 16 มกราคม 2553 จะต้องมีเนื้อหาอย่างน้อย 2 หน้ากระดาษ A4 และส่วนที่เป็นรูปภาพประกอบ
  5. up load บทความใน blog ตนเอง

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

หนังสารคดี Home เปิดหน้าต่างโลก

ชมภาพยนต์สารคดีร่วมกันใน class - Jan 9th, 2010

* ให้นักศึกษาจับ keywords จากภาพยนต์สารคดีเรื่องนี้ 10 คำ *
เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการตลอดครึ่งหลังของภาคการศึกษาที่ 2/2552

การบ้าน 16 ม.ค. 53 / เขียนบทความแสดงความคิดเห็น

Home by Yann Arthus-Bertrand

1. เขียนบทความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังที่ได้ร่วมกันชมในชั้นเรียน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ

- เนื้อหา รายละเอียด วิธีการนำเสนอ ภาพ คำบรรยาย โดยยกตัวอย่างประกอบ
- สิ่งที่ตนชอบ ไม่ชอบและสิ่งที่ได้รับจากหนังเรื่องนี้
- ข้อเสนอแนะ
- keywords 10 คำ

จำนวนอย่างน้อย 3 หน้ากระดาษ A4 + มีรูปภาพได้ ส่งในชั่วโมงเรียนในวันเสาร์ที่ 23/1/53
* upload บทความดังกล่าวลงใน blog ของตนเองด้วย *

ข้อคิดจาก DESIGN ARMY's Talk - Dec 21st, 2009 / Bangkok

ข้อคิดจากการเข้าฟังบรรยายของ DESIGN ARMY

  • สำหรับ design การทำ research ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลถือว่า สำคัญมาก
  • การทำงานด้วยมือ การ sketch ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในการจัดระบบหมวดหมู่ทางความคิด ตัวอย่างเช่น คุณ Jake sketches หนังสือประมาณ 82 หน้าด้วยมือทั้งเล่ม เพื่อเป็นตัวอย่าง mock up, dummy, composition, art direction, image, typo, layout system ให้ลูกค้าดู
  • เล่าให้เห็นถึงความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรมที่มีผลต่อวิชาชีพออกแบบ
  • การให้ความยอมรับ เชื่อถือในวิชาชีพออกแบบ โดยถือว่านักออกแบบคือผู้เชื่ยวชาญเฉพาะทาง เปรียบได้กับ สถาปนิก ทนายความ ฯ
  • เทคโนโลยีที่พัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆ ตามเวลา+ยุคสมัย ตัวอย่างเช่น magazine online, การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดเพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อน