
วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553
สัญลักษณ์สี Recycle และหนังสือควรอ่าน

การบ้าน - โครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. ทำความเข้าใจกับ
- ที่มาที่ไป
- แนวความคิด
- เนื้อหา รายละเอียดของโครงการ
- วิธีการแก้ปัญหา
- ตัวอย่างและภาพประกอบ
- เจ้าของโครงการคือใคร? ผู้ออกแบบคือใคร?
3. รวบรวมสองโครงการดังกล่าว print out ข้อมูลรายละเีอียดมาส่งและเตรียมนำเสนอทั้งสองโครงการในชั่วโมงเรียนวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 (jpg, pdf, ppt file format)
4. นำโครงการไปเผยแพร่ใน blog ของตน
หมายเหตุ สามารถเป็นโครงการออกแบบโดยนักออกแบบชาวไทยหรือชาวต่างชาติได้ เป็นโครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ ซึ่งนอกเหนือไปจากงาน Communication Design ได้
หลักการ 4 R
Eco Design มีกรอบความคิดหลักคือ ครอบคลุมวงจรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถแบ่งกระบวนการออกเป็นช่วงๆ ให้ชัดเจนได้ คือ
การวางแผนการผลิต (Planning Phase) > ช่วงการออกแบบ (Design Phase) > ช่วงการผลิต (Manufacturing Phase) > ช่วงการนำไปใช้ (Usage Phase) > และช่วงการทำลายหลังการใช้เสร็จ (Disposal Phase)
ซึ่่งหลักการสำคัญก็คือ หลัก 4 R นั่นเอง
- Reduce หรือลด ก็คือการลดการใช้ทรัพยากรในช่วงต่างๆ ของวงจรผลิตภัณฑ์ เช่น การลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ เริ่มตั้งแต่ลดการใช้กระดาษในการออกแบบไปเลย ลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ ลดอัตราการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในระหว่างการใช้งาน
- Reuse หรือใช้ซ้ำ ทั้งที่เป็นการใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ตามหรือที่เรียกว่า การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Design for Reuse) เช่น การออกแบบให้ผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกันได้ เมื่อรุ่นแรกหยุดการผลิตแล้วยังสามารถเก็บคืนและนำบางชิ้นส่วนมาใช้ในการผลิตรุ่นต่อไปได้
- Recycle หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ แล้วนำกลับมาใช้โดยการออกแบการใช้งานผลิตภัณฑ์เพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ จะต้องเอื้อต่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การออกแบบให้ถอดประกอบได้ง่าย (Design for Disassembly) การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Design for Recycle) เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบพลาสติกหรือกระดาษที่ง่ายต่อการนำกลับมา ใช้
- Repair หรือการซ่อมบำรุง ก็คือการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการซ่อมบำรุงได้ง่ายจะเป็นการยืดอายุช่วงชีวิตของการใช้งาน (Extended Usage Life) ซึ่งท้ายที่สุดสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ออกแบบให้เปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย

Sustainable Design
การออกแบบอย่างยั่งยืน Sustainable Design คือ การออกแบบที่ส่งผลดีต่อโลก สร้างความสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลง การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ การหาทางเลือกหรือคิดค้นนวัตกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อโลกน้อยลง เป็นการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผู้ผลิตและผู้บริโภค
การออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable design) หรือการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green design, Eco-design หรือ Design for the environment)
นับเป็นกระแสหลักของการออกแบบยุคใหม่ที่นักออกแบบหลายต่อหลายคนต่างให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันกระแสที่ว่ากำลังได้รับความสนใจในหลายวงการไม่ว่าจะเป็นวงการสถาปัตยกรรม การออกแบบภูมิทัศน์ การออกแบบและวางผังเมือง วิศวกรรม การออกแบบกราฟฟิก การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบภายใน หรือแม้แต่การออกแบบแฟชั่น
แท้จริงแล้วความหมายของการออกแบบอย่างยั่งยืนนั้น มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่การออกแบบวัตถุขนาดเล็กไปจนถึงการออกแบบสิ่งก่อ สร้างขนาดใหญ่ อย่างตึกรามบ้านช่องหรือแม้แต่การสร้างเมือง สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการบริการที่สอดคล้องกับกฎทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน
การออกแบบอย่างยั่งยืนให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ให้น้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งยังพยายามเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้มากที่สุด โดยมุ่งสร้างวิถีการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกด้านต่างๆ อาทิ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรที่เป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างมหาศาล การเสียภาวะสมดุลทางสิ่งแวดล้อมและการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการออกแบบที่ยั่งยืนจึงนับเป็นวิธีการในการคงคุณภาพชีวิตอันสมบูรณ์ ด้วยวิธีการออกแบบอันชาญฉลาด เพื่อทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมดังเช่นในอดีต อาจพูดได้ว่าการ ออกแบบอย่างยั่งยืนนี้ไม่ได้เป็นเพียงส่วนเสริมของการออกแบบสถาปัตยกรรม แต่กลายเป็นกระบวนการสำคัญของศาสตร์และศิลป์แห่งการออกแบบเกือบทุกแขนงไป เป็นที่เรียบร้อย
keywords :
- ทรัพยากรที่นำมาใช้
- ผลที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
- มนุษย์
- www.tcdc.or.th/articles.php?act=view&id=35
- www.mioculture.com
- http://reestore.com/products.htm
- www.mioculture.com
- www.freitag.ch/shop/FREITAG/page/frontpage/detail.jsf
- www.alchemygoods.comGreen Design + EcoDesign + Sustainable Design
- EcoDesign = Economic + Ecological Design / การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
- Green Design / การออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- Sustainable Design / การออกแบบอย่างยั่งยืน
- Design for the Environment / การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจและการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
*ที่มา: หนังสือการประเมินวัฏจักรชีวิตและการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (จัดทำโดย สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2549) |
ฉลากเขียว คือ ฉลากที่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อนำมาเปรียบ เทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
ข้อดีของการมีฉลากเขียวติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ก็คือใช้เป็นเครื่องหมายให้กับผู้ บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเน้น คุณค่าทางสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคจะได้เลือกซื้อถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ในส่วนผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายจะได้รับผล ประโยชน์ในแง่กำไรเนื่องจากมีการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมากขึ้น ผลักดันให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ ต้องแข่งขันกันปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการของตนในด้านเทคโนโลยี โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชน และส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว ฉลากเขียวจึงเป็นเครื่องมืออย่าง หนึ่งที่ช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติผ่านทางการผลิตและการบริโภคของประชาชน





4 Rs Logo > sample

website ข้อมูล :
- www.thaigdn.net
- www.thaienv.com
- www.environnet.in.th
- www.tisi.go.th/green/
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
นิทรรศการ ADC 88th และ Young Gun 7th

ให้นักศึกษาไปชมนิทรรศการ ADC ครั้งที่88 และ Young Gun ครั้งที่ 7 ที่หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต โดยจะต้อง . . .
- เขียนบทความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานนิทรรศการครั้งนี้ในด้านของรูปแบบการจัดงาน การสื่อสาร ผลที่ได้รับต่อนักออกแบบ นักศึกษาและสังคมออกแบบไทย
- เลือกชิ้นงานที่ชอบ + สนใจอย่างน้อยสองชิ้น เขียนวิเคราะห์ตัวงานโดยอธิบายแนวความคิด สารที่นักออกแบบสื่อ การเลือกใช้สื่อ วิธีการนำเสนอ โดยจะต้องเสนอภาพประกอบและยกเหตุผลสนับสนุนแนวความคิดของนักศึกษาเอง
- ถ่ายรูปตนเองในงานนิทรรศการ (สามารถถ่ายรูปเป็นกลุ่มได้)
- ส่งบทความนี้ในชั่วโมงเรียนวันเสาร์ที่่ 16 มกราคม 2553 จะต้องมีเนื้อหาอย่างน้อย 2 หน้ากระดาษ A4 และส่วนที่เป็นรูปภาพประกอบ
- up load บทความใน blog ตนเอง
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553
หนังสารคดี Home เปิดหน้าต่างโลก

* ให้นักศึกษาจับ keywords จากภาพยนต์สารคดีเรื่องนี้ 10 คำ *
เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการตลอดครึ่งหลังของภาคการศึกษาที่ 2/2552
การบ้าน 16 ม.ค. 53 / เขียนบทความแสดงความคิดเห็น
1. เขียนบทความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังที่ได้ร่วมกันชมในชั้นเรียน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ- เนื้อหา รายละเอียด วิธีการนำเสนอ ภาพ คำบรรยาย โดยยกตัวอย่างประกอบ
- สิ่งที่ตนชอบ ไม่ชอบและสิ่งที่ได้รับจากหนังเรื่องนี้
- ข้อเสนอแนะ
- keywords 10 คำ
จำนวนอย่างน้อย 3 หน้ากระดาษ A4 + มีรูปภาพได้ ส่งในชั่วโมงเรียนในวันเสาร์ที่ 23/1/53
* upload บทความดังกล่าวลงใน blog ของตนเองด้วย *
ข้อคิดจาก DESIGN ARMY's Talk - Dec 21st, 2009 / Bangkok
ข้อคิดจากการเข้าฟังบรรยายของ DESIGN ARMY
- สำหรับ design การทำ research ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลถือว่า สำคัญมาก
- การทำงานด้วยมือ การ sketch ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในการจัดระบบหมวดหมู่ทางความคิด ตัวอย่างเช่น คุณ Jake sketches หนังสือประมาณ 82 หน้าด้วยมือทั้งเล่ม เพื่อเป็นตัวอย่าง mock up, dummy, composition, art direction, image, typo, layout system ให้ลูกค้าดู
- เล่าให้เห็นถึงความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรมที่มีผลต่อวิชาชีพออกแบบ
- การให้ความยอมรับ เชื่อถือในวิชาชีพออกแบบ โดยถือว่านักออกแบบคือผู้เชื่ยวชาญเฉพาะทาง เปรียบได้กับ สถาปนิก ทนายความ ฯ
- เทคโนโลยีที่พัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆ ตามเวลา+ยุคสมัย ตัวอย่างเช่น magazine online, การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดเพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อน